มิติอดีต
ตำนานแห่งแห่งศาลาเฉลิมกรุงมิใช่เป็นเพียงโรงภาพยนตร์โรงหนึ่งเท่านั้น
แต่ยังมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับความรุ่งเรืองของกรุงเทพมหานคร
อีกทั้งยังเป็นตัวแทนของความเฟื่องฟูของวงการภาพยนตร์ในประเทศในอดีตที่ผ่านมาด้วย
 |
โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในอดีต |
ในเวลานั้นได้มีการสร้างโรงภาพยนตร์ที่มีลักษณะสวยงามภูมิฐานเป็นสง่าราศีแก่เมืองได้
ประกอบกับควเมื่อกรุงเทพมหานครจะมีการฉลองกรุงครบ 150 ปี ได้มีการประชุมหารือกันในคณะรัฐบาลเพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่ซึ่งสามารถอำนวยสาธารณประโยชน์เป็นที่ระลึกแห่งการเฉลิมฉลอง ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชดำริให้จัดสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯ กับกรุงธนบุรีให้มีความเจริญพัฒนาทัดเทียมกันพร้อมทั้งได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไว้ที่เชิงสะพานฝั่งพระนครด้วย เพื่อเป็นที่รำลึกถึงพระองค์ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครและพระราชวงศ์จักรี และในโอกาสเดียวกันนั้น จากแนวพระราชดำริที่ทรงเห็นว่าสิ่งบันเทิงที่เฟื่องฟูมากที่สุดในโลกยุคนั้นก็คือ ภาพยนตร์ และแม้ว่าามที่ทรงรอบรู้และเป็นนักนิยมภาพยนตร์ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์กว่า
9 ล้านบาท
เพื่อสร้างโรงภาพยนตร์สำหรับฉายภาพยนตร์เสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
อีกทั้งยังมีลักษณะภูมิฐานเป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศได้
 |
โรงภาพยนตร์สำหรับฉายภาพยนตร์เสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย |
ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร
สถาปนิกผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันชั้นนำของประเทศฝรั่งเศส
เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง
ได้พระราชทานนามของโรงมหรสพเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบและเป็นอนุสรณ์แห่งงานเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ
150 ปี ว่า “ศาลาเฉลิมกรุง”
 |
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร |
ที่ตั้งของศาลาเฉลิมกรุงนี้แต่เดิมในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ซื้อที่ดินบริเวณระหว่างถนนเจริญกรุงและถนนพาหุรัดช่วงหลังวังบูรพาภิรมย์ระหว่างถนนบรูพาและถนนตรีเพชร
โดยวางผังตัดถนนเป็นรูปกากบาทในพื้นที่ดินรูปสี่เหลี่ยมนี้ ด้วยว่าเดิมทรงพระราชดำริที่จะทำให้เป็นย่านการค้า
แต่แนวพระราชดำรินี้ก็มิได้บรรลุวัตถุประสงค์ คงปล่อยเป็นลายโล่งๆ
ที่ตรงกลางมีถนนสองสายตัดกันเหลือไว้ ต่อมาผู้คนเรียกบริเวณนี้ว่า “สนามน้ำจืด”
 |
ตรงกลางมีถนนสองสายตัดกัน |
นอกจากบริเวณที่ตั้งศาลาเฉลิมกรุงจะเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญแล้ว
ที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในสมัยนั้นอีกด้วยเพราะตลอดแนวใกล้เคียงถนนเจริญกรุงไปจรดสามแยก
(ต้นประดู่) เป็นแหล่งรวมโรงมหรสพที่สำคัญของยุคนั้น เช่น โรงภาพยนตร์นาครเขษม
โรงภาพยนตร์พัฒนากร โรงภาพยนตร์สิงคโปร์ (ศาลาเฉลิมบุรี) ฯลฯ อีกทั้งบรเวณฝั่งตรงข้ามของศาลาเฉลิมกรุง
คือตลาดบำเพ็ญบุญ
ก็เป็นแหล่งที่ผู้คนมาเที่ยวหาความสำราญกันคึกคักทั้งจาการรับประทานอาหาร
และชมมหรสพการแสดงต่างๆ
 |
ที่นั่งชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในอดีต |
จากเหตุผลของความเหมาะสมดังกล่าว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพิจารณาเลือกพื้นที่บริเวณนี้สำหรับสร้างศาลาเฉลิมกรุง
อนึ่ง
ทรงเห็นว่าที่ตรงนี้เป็นเส้นทางเดียวกับที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์และสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วย การก่อสร้างอาคารศาลาเฉลิมกรุงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมา
ทรงวางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง
จากนั้นบริษัทบางกอกจึงเริ่มงานก่อสร้าง
 |
การสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง |
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ทรงออกแบบอาคารศาลาเฉลิมกรุงในรูปแบบสากลสมัย (International
Style หรือ Modern Style) หรือที่สถาปนิกรุ่นหลังเรียกว่า
Contemporary Architecture ตัวอาคารมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูงตระหง่านมั่นคง
ผึ่งผาย ตามแบบตะวันตก โครงสร้างของอาคารแข็งแรงมาก รับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม
ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
ในขณะเดียวกันก็เปิดเนื้อที่กว้างขวางภายในโดยไม่มีเสามาบังตา ส่วนประกอบอื่น เช่น
ผนัง ประตูบานพับ ยังเน้นถึงความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปชมภาพยนตร์เป็นสำคัญ
 |
ทางเข้าโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง |
ในสมัยนั้นอาคารเฉลิมกรุงจัดได้จัดว่าเป็นอาคารที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียขณะนั้น
มีความสวยงามเป็นที่น่าตื่นเต้นและภาคภูมิใจของผู้ที่ได้มาสัมผัสชื่นชม
สามารถจุผู้ชมได้เป็นพันคน
มีการออกแบบตกแต่งภายในอย่างวิจิตรงดงามด้วยศิลปะไทยสอดผสานกับศิลปะตะวันตก
มีระบบแสงสีที่แปลกตาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มีระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบ
มีระบบปิด-เปิดม่านอัตโนมัติ
เป็นโรงมหรสพแห่งแรกของประเทศไทยที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ
นอกจากนั้นยังจัดฉายภาพยนตร์ชั้นดีโดยเฉพาะภาพยนตร์ต่างประเทศเสียงในฟิล์ม โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในยุคแรกเริ่มจึงเป็นที่ชุมนุมของคนที่มีการศึกษาดี
มีความรู้ภาษาต่างประเทศและผู้ที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศ
 |
โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง |
ครั้นต่อมาถึงยุงภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟู
ศาลาเฉลิมกรุงเป็นเสมือนหนึ่งศูนย์กลางวงการบันเทิงอย่างแท้จริง จนนับว่าเป็น
“ฮอลลีวูดเมืองไทย” ก็ว่าได้ ศาลาเฉลิมกรุงเป็นศูนย์รวมของแหล่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเป็นศูนย์รวมของผู้คนในวงการภาพยนตร์ไทย
ตั้งแต่ผู้สร้าง ผู้กำกับ ดารา ตัวประกอบ ทีมงาน นักพากย์ นักร้อง
ช่างเขียนโปสเตอร์ ฯลฯ และเป็นสถาบันในการผลิตบุคลากรทางด้านภาพยนตร์และละครของไทย
ศาลาเฉลิมกรุงเป็นเหมือนประกาศนียบัตรรับรองความสำเร็จของบุคคลในสายอาชีพนี้
ตลอดไปจนถึงบริษัทสายหนังต่างๆ ที่มาตั้งกิจการอยู่ในละแวกด้านหลังศาลาเฉลิมกรุง
ศาลาเฉลิมกรุง
ถือว่าเป็นส่วนสำคัญและส่งเสริมให้พื้นที่โดยรอบพัฒนาตัวเองขึ้น
จากการเป็นย่านธุรกิจการค้าสำคัญสู่ความรุ่งเรืองในระดับที่เป็นศูนย์กลางความเจริญ
และความทันสมัยของยุคนั้น จากเสาชิงช้าลงไปถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
และระเรื่อยตลอดสองฝั่งถนนเจริญกรุงไปจนถึงสำเพ็ง
และตลาดน้อยกลายเป็นแหล่งธุรกิจนานาชนิด ความชื่นชมของประชาชนที่มีต่อศาลาเฉลิมกรุงไม่ได้มีเพียงแต่ในระยะแรกเริ่มเท่านั้น
หากยังดำรงต่อมาอีกเนิ่นนานนับเป็นสิบๆปี
ศาลาเฉลิมกรุงถือว่าเป็นแหล่งศูนย์กลางความบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย
จนเป็นประเพณีนิยมของคนหนุ่มสาวสมัยนั้นที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ
จะต้องมาใช้ชีวิตส่วนหนึ่งสัมผัสกับบรรยากาศของย่านนี้
ขนาดที่ส่าใครไม่รู้จักศาลาเฉลิมกรุงจะถือว่า “เชย” ที่สุดทีเดียว ศาลาเฉลิมกรุงและย่านใกล้เคียงได้ซบเซาลงไปชั่วระยะหนึ่ง
เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม กระแสทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของผู้คน
แต่มาบัดนี้ก็ได้ถึงยุคที่ฟื้นฟูให้เฉลิมกรุงกลับมีชีวิตเป็นโรงภาพยนตร์พระราชทานอีกครั้งหนึ่ง ด้วยอดีตที่ผูกพันกับหลายสิ่งหลายอย่างที่เข้มข้น
ผูกพันกับชีวิตคนเป็นจำนวนมาก
ผูกพันกับประวัติศาสตร์ของสังคมไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเวลานาน
เฉลิมกรุงจึงควรแก่การสนใจ
ทะนุถนอมไว้เพื่อให้เป็นโรงภาพยนตร์พระราชทานสมดังพระราชประสงค์สืบไป
 |
โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในปี พ.ศ. 2532 |
ศาลาเฉลิมกรุงวันวาน
บทบาทของศาลาเฉลิมกรุงในฐานะโรงมหรสพที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้เป็นสถานที่หย่อนใจสำหรับประชาชน ก็ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ณ วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม
พ.ศ.2476 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (ม.ร.ว.มูล
ดารากร)
เป็นผู้แทนพระองค์มาประกอบพิธีเปิดศาลาเฉลิมกรุง
 |
บริเวณทางเข้าโรงภาพยนตร์ศษลาเฉลิมกรุง |
ครั้งนั้น
ประชาชนทั้งหลายได้มาชุมนุมกันอย่างมากมายเพื่อรอชมพิธีเปิดอันเป็นงานมโหฬารและด้วยใจที่จดจ่อรอโอกาสได้สัมผัสกับความอลังการของสถานมหรสพนาม "ศาลาเฉลิมกรุง" นี้จากข่าวหนังสือพิมพ์ศรีกรุงฉบับวันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2476 ระบุว่าในงานพิธิเปิดศาลาเฉลิมกรุงนี้
มีประชาชนพากันไปชุมนุมมากมายจนรถรางและยวดยานต่างๆที่สัญจรในถนนโดยรอบต้องพากันหยุดชะงักอยู่ชั่วคราวและเสียงของประชาชนที่ได้เข้าไปสัมผัสและชมภาพยนตร์ที่ศาลาเฉลิมกรุงต่างพากันออกปากว่ามีทั้งความงามและความสบายตลอดเวลา
นับได้ว่าเป็นโรงมหรสพที่ทันสมัยในเอเชียในขณะนั้น อาจกล่าวได้ว่าโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
เมื่อสมัยแรกเริ่มนั้นคือความตื่นเต้นและความปลาบปลื้มของประชาชนที่ได้มาสัมผัสและบอกเล่ากันปากต่อปากจนศาลาเฉลิมกรุงมีชื่อเสียง
เลื่องลือไปทั่วพระนครขนาดที่ว่าใครเป็นคนกรุงแล้วไม่รู้ศาลาเฉลิมกรุงจะถือว่าเชยที่สุดทีเดียว
เพราะโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นหนึ่งที่ได้รับพระราชทางจากในหลวงรัชกาลที่ 7
และเป็นโรงภาพยนตร์ที่หรูหราทันสมัยที่สุดในยุคนั้นเป็นโรงภาพยนตร์สำหรับฉายภาพยนตร์เสียงและมีเครื่องปรับอากาศเป็นโรงแรกในประเทศไทย มีระบบแสงสีที่แปลกตาและมีระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบอีกทั้งโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงยังเลือกฉายแต่ภาพยนตร์ชั้นดี ทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศมาตลอด
 |
ราคาตั๋วโรงภาพยนตร์ราคา 12.50 บาท
ในระยะแรกเริ่มดำเนินการนั้น
อัตราค่าเข้าชมภาพยนตร์ของศาลาเฉลิมกรุงกำหนดไว้ที่ราคาต่ำสุด 7 สตางค์คือแถวหน้า ติดกับจอเวที
ที่นั่งชั้นล่างถัดมาราคา 12
สตางค์
ที่นั่งชั้นล่างแถวหลังราคา 25 สตางค์
และที่นั่งชั้นบนราคา 40 สตางค์
ส่วนที่นั่งในชั้นบอกซ์สำหรับผู้ชมที่ต้องการชมภาพยนตร์แบบไม่ปะปนกับใครได้กำหนดไว้ในราคาที่สูงเป็นพิเศษกว่าที่นั่งชั้นอื่นๆ และสำหรับนักเรียนมีการให้ส่วนลดพิเศษ คือถ้ามาซื้อบัตรเข้าชมรวมกัน 10
คน จะได้ส่วนลดจำนวน 1 คนที่ไม่ต้องเสียค่าบัตรเข้าชม สำหรับรอบการฉายภาพยนตร์ของศาลาเฉลิมกรุงในระยะเริ่มแรก ฉายวันละ 2 รอบ และค่อยพัฒนาเพิ่มเป็น 4
รอบ
ในวันหยุดมีการเพิ่มรอบเข้าอีกหนึ่งรอบและได้มีการพัฒนาปรับรอบการฉายมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน |
โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในยุคแรกเริ่มนั้น ถือได้ว่าเป็นที่ชุมนุมของคนในกรุงเทพมหานครทีเดียว โดยเฉพาะพวกคนที่มีการศึกษาดี ทั้งคนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศและคนที่ผ่านการศึกษาภาษาต่างประเทศจากโรงเรียนในกรุงเทพฯ เพราะภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่ฉายอยู่ที่ศาลาเฉลิมกรุง เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศเสียงในฟิล์ม จะมีภาพยนตร์ไทยอยู่บ้างก็เป็นจำนวนน้อยเต็มที
ด้วยว่าเป็นระยะแรกที่คนไทยเพิ่งจะเริ่มบุกเบิกการทำภาพยนตร์เสียงกัน
 |
การจำหน่ายตั๋วหน้าโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง |
ความชื่นชมของประชาชนที่มีต่อศาลาเฉลิมกรุงไม่ได้มีแต่เพียงในระยะแรกเริ่มเท่านั้น
หากยังดำรงต่อมาอีกเนิ่นนานนับเป็นสิบๆปี จนก่อเป็นความผูกพันของผู้คนมากมายที่ได้สัมผัสและดำเนินชีวิตเกี่ยวข้องอยู่ บทบาทของศาลาเฉลิมกรุงในวันวานมิใช่เป็นเพียงแค่โรงภาพยนตร์แต่เพียงอย่างเดียวหากยังเป็นภาพสะท้อนของสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง
ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าใจสภาพสังคมและเศรษฐกิจของไทยในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี
หากกล่าวว่าด้วยทำเลที่ตั้งอันเป็นส่วนส่งเสริมต่อความรุ่งเรืองของศาลาเฉลิมกรุงก็นับเป็นส่วนที่ถูก
แต่ในขณะเดียวกันศาลาเฉลิมกรุงเองยิ่งนับว่ามีส่วนส่งเสริมต่อความรุ่งเรืองของพื้นที่บริเวณโดยรอบเป็นอย่างมากเช่นกัน เพียงเวลาไม่กี่ปีหลังการก่อกำเนิดศาลาเฉลิมกรุง
ถือเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันและส่งเสริมให้พื้นที่โดยรอบพัฒนาตัวเองขึ้น
จากการเป็นย่านธุรกิจการค้าสำคัญสู่ความรุ่งเรืองในระดับที่เป็นศูนย์กลางความเจริญและความทันสมัยของยุคนั้น
ยุคภาพยนตร์
ส่วนภาพยนตร์ของไทย
แม้ในระยะแรกจะไม่ได้มีการถ่ายทำกันอย่างเป็นทางการ แต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลย์วงศ์ฯ (พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 5) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระบิดาแห่งวงการภาพยนตร์ไทย ก็ได้ทรงริเริ่มถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยฝีพระหัตถ์เป็นพระองค์แรกมาตั้งแต่สมัยปี พ.ศ.2433 แล้วภาพยนตร์ส่วนใหญ่จากฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่านคือการบันทึกพระราชกรณียกิจในพระราชพิธีสำคัญๆของรัชกาลที่ 5 โดยนอกจากถ่ายทำแล้วยังทรงเป็นผู้จัดฉายภาพยนตร์นั้นเก็บค่าดูจากสาธารณชนอีกด้วย จึงถือได้ว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ของไทยมีการริเริ่มมาตั้งแต่ครั้งนั้น และในปี
พ.ศ.2465 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 6)

ภาพยนตร์เรื่องบันเทิงของไทยหรือภาพยนตร์ที่มีการถ่ายทำตามเรื่องราวที่คิดขึ้นได้เริ่มต้นหลังจากนั้น โดยในระยะแรกยังเป็นยุคของภาพยนตร์เงียบอยู่ การพากย์ภาพยนตร์นั้นเมื่อแรกเริ่มในสมัยภาพยนตร์เงียบ
ทางบริษัทภาพยนตร์พัฒนากรซึ่งเป็นบริษัทดำเนินกิจการโรงภาพยนตร์รายใหญ่ตอนนั้น
จนการพากย์กลายมาเป็นอาชีพอีกอย่างหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทยด้วย และพร้อมกับที่กิจการภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศได้เริ่มแพร่หลายสู่คนไทย และมีบทบาทเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลสูง สามารถเข้าถึงคนทุกระดับชั้นได้ ทางราชการจึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันมิให้มีการนำภาพยนตร์ที่อาจเป็นพิษภัยต่อสังคมและบ้านเมืองออกฉายเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ครั้งนั้นรัฐบาลสยามในรัชกาลที่ 7 จึงได้ออกกฎหมายเรียกว่า “พระราชบัญญัติภาพยนตร์พุทธศักราช
2473” ให้อำนาจเจ้าพนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทุกเรื่อง
ก่อนที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้นำออกฉายเผยแพร่ได้ “พระราชบัญญัติภาพยนตร์
พุทธศักราช2473” นี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมความบ้างในเวลาต่อมา แต่ยังถือบังคับใช้จวบจนถึงทุกวันนี้ ในช่วงยุคนี้เองบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงได้สร้างนักแสดงภาพยนตร์ระดับพระเอกนางเอกจนมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของผู้ชมอย่างกว้างขวางเป็นคู่กัน
ครั้นพอเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองการสร้างภาพยนตร์เสียงของไทยก็มีอันต้องสะดุดหยุดลง
เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตภาพยนตร์
โดยเฉพาะฟิล์มสำหรับการถ่ายทำซึ่งตั้งแต่สมัยแรกเริ่มสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงของไทยจะใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. กันมาตลอด เมื่อขาดแคลนฟิล์มสำหรับถ่ายทำบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ต่างๆก็เริ่มเลิกรากิจการกันไป
มีเพียงผู้สร้างภาพยนตร์ไทยพากย์บางรายที่หันมาใช้ฟีล์มขนาด 16 มม.
ผลิตภาพยนตร์ออกมาป้อนตลาดได้บ้างแต่ในที่สุดก็ต้องหยุดชะงักไปในช่วงที่ประเทศไทย
ได้เข้าร่วมในยุทธภูมิของสงครามโลกครั้งที่สอง
 |
ฟิล์มขนาด 16 มม. ที่ใช้ในช่วงต้นๆ |
ภาพยนตร์ฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งก็เป็นช่วงที่ภาพยนตร์ขนาด 16 มม.
เริ่มเฟื่องฟูเป็นที่นิยมทั่วไปและในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จัดสร้างโรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุงขึ้นเพื่อพระราชทาน ให้เป็นสถานหย่อนใจสำหรับประชาชน และเป็นที่ระลึกในคราวฉลองกรุงเทพฯครบรอบ 150 ปีนั้น
ทรงเห็นว่าการดำเนินการโรงภาพยนตร์เป็นกิจการต่อเนื่องซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี
 |
ตัวอย่างภาพยนตร์ไทย |
ยุคละคร
ย้อนหลังไปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้น
ภาพยนตร์จากต่างประเทศเริ่มขาดแคลนภาพยนตร์ไทยก็ผลิตกันออมาได้น้อยมากเนื่องจากฟิล์มสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ก็ขาดแคลนเช่นกัน
นอกจากการใช้ฟิล์มขนาด 16 มม
ซึ่งพอหาได้บ้างมาถ่ายทำภาพยนตร์กันแล้วโรงภาพยนตร์ต่างๆ
ก็จำต้องเอาภาพยนตร์เก่ามาฉายซ้ำให้คนดูกัน ศาลาเฉลิมกรุงโดยบริษัทสหศีนิมาซึ่งเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายภาพยนตร์อยู่ด้วยก็ไม่สามารถหาภาพยนตร์อยู่ด้วยก็ไม่สามารถหาภาพยนตร์อยู่ด้วยก็ไม่สามารถหาภาพยนตร์มาป้อนตลาดได้ทันและเพียงพอแก่ความต้องการ
เมื่อระยะเวลาของสงครามเนิ่นนานเข้าก็ต้องใช้วิธีนำเอาภาพยนตร์เก่าๆ
ในสต็อกมาฉายวนซ้ำให้นักพากย์ พากย์เล่นลีลาเอาสนุกแก้ขัดกันไปพลาง จนเมื่อประเทศไทยกลายเป็นยุทธภูมิ
หลังจากญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้ามาในปี พ.ศ. 2484 แล้วมีการโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตรกิจการภาพยนตร์ไทยก็ได้หยุดชะงักไปโดยปริยายประกอบกับหนังที่มีในสต็อกก็นำมาวนฉายจนสิ้น
ทางศาลาเฉลิมกรุงจึงได้คิดนำละครเวทีมาจัดแสดง
โดยแปรเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่มีลักษณะเป็นละครร้องซึ่งใช้ตัวแสดงผู้หญิงเล่นทั้งหมดเช่นที่เคยมีเล่นกันโด่งดังอย่างคณะแม่เลื่อน
มาเป็นละครพูดที่มีการร้องเพลงสลับบ้างและเป็นการแสดงแบบชายจริงหญิงแท้คือใช้ตัวแสดงผู้ชายเล่นเป็นผู้ชายในเรื่องและใช้ตัวแสดงผู้หญิงเล่นเป็นตัวผู้หญิงเช่นกัน ละครเวทีในลักษณะนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
เพราะเป็นที่ถูกใจผู้ชมเนื่องจากได้อรรถรสในการชมมากขึ้น
อย่างไรก็ตามละครเวทีที่จัดให้มีขึ้นนี้ก็ยังมีการร้องเพลงในเรื่องอยู่ด้วย
จึงจำเป็นที่ผู้แสดงตัวเอกทั้งหลายจะต้องมีความสามารถในการร้องเพลงเป็นพื้นฐานเช่นกัน การทำละครเวทีในสมัยนั้นจะมีการจัดทำกันเป็นคณะที่มีชื่อเสียงก็เช่น
คณะศิวารมณ์ คณะปรีดาลัยคณะเทพศิลป์ คณะอัศวินการละคร คณะผกาวลี ฯลฯโดยแต่ละคณะจะมีตัวสดงหลักเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ
อาทิเช่น พันคำจะเป็นพระเอกประจำของคณะเทพศิลป์ คณะศิวารมณ์ก็มีสมควร
กระจ่างศาสตร์ สอาสนจินดา จอก ดอกจัน ส่วนอัศวินการละคร ก็มีลอง สิมะเสถียร
สวลีผกาพันธ์ เป็นตัวเอกยืนโรงประจำเช่นนี้เป็นต้น
 |
ละครเวทีในอดึต |
ส่วนการจัดทำละครแต่ละเรื่องจะมีการพูดคุยติดต่อตกลงกันระหว่างคณะว่าใครจะจัดแสดงละครเรื่องอะไร
เพื่อที่จะได้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนกัน
แล้วก็มาตกลงกับทางศาลาเฉลิมกรุงในเรื่องกำหนดวันและระยะเวลาการแสดง
ซึ่งส่วนมากก็จะอยู่ในระยะประมาณ 2 อาทิตย์ต่อเรื่องผลัดเปลี่ยนกันไป ละครเวทีที่น่าสนใจในระยะแรกนั้นก็มีเรื่องนางบุญ
ใจบาป จากคณะของเซียวก๊กซึ่งมี ม.ล.รุจิรา เป็นพระเอกและมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นนางเอก ละครเวทีที่โด่งมากในสมัยละครเวทีเฟื่องก็คือเรื่อง “พันท้ายนรสิงห์” ออกแสดงที่ศลาเฉลิมกรุงได้เพียง
7 วัน
ก็เป็นที่กล่าวขวัญของประชาชนทั่วไปและได้ทำการแสดงซ้ำถึง 3 ครั้ง
ส่งผลให้เพลงน้ำตาแสงใต้ซึ่งเป็นเพลงในละครเรื่องนี้กลายเป็นเพลงที่คนร้องกันได้ทั่ว
และสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์
นัดแสดงหน้าใหม่ก็ได้กลายเป็นพระเอกยอดนิยมของนักดูละครเวทีไปในพริบตา
 |
ละครเวทีเรื่องพันท้ายนรสิงห์ |
นักแสดงอื่นๆ
ที่ร่วมแสดงในละครเรื่องนี้ก็เล่นกันได้ดีทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นจอกดอกจันในบทพระเจ้าเสือที่เล่นได้ดีจนพระนางเธอลักษมีลาวัลย์
(พระชายาในรัชกาลที่ 6) ทรงออกปากชม
หรือมหาดเล็กอ่อน โดยการสวมบทบาทของสมพงษ์ พงษ์มิตร
ที่สามารถเรียกขานเสียงหัวเราะจากผู้ชมได้ครั้งแล้วครั้งเล่า
และผู้เป็นที่ได้เล่นบทมหาดเล็กอ่อนทุกครั้งที่มีการนำละครเรื่อง
พันท้ายนรสิงห์กลับมาเล่นอีก ผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับจัดแสดงละครเวทีในครั้งนั้นได้แก่
พระนางเธอลักษมีลาวัลย์ พลตรีพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล นาวาอากาศเอกขุนสวัสดิ์
ทิฆัมพร ขุนวิจิตรมาตรา ทวีณ บางช้าง ครูเนรมิต ฯลฯ
สำหรับดาราละครเวทีที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ก็เช่น พันคำ ส.อาสนจินดา ฉลองสิมะเสถียร สมควร กระจ่างศาสตร์ สวลี ผกาพันธ์ มารศรี
อิศรางกูร ณ อยุธยา กัณฑรีย์ น.สิมะเสถียร ฯลฯ
เป็นต้น และที่ก่อกำเนิดมาพร้อมกับความเฟื่องฟูของละครเวที่ที่ศาลาเลิมกรุงก็คือบรรดานักร้องหน้าม่านที่มาร้องเพลงสลับกับฉากทั้งหลายนั่นเอง ละครเวทีที่เล่นกันในครั้งนั้น
เมื่อเล่นจบหนึ่งองก์จะมีการเปลี่ยนฉากไปตามท้องเรื่องกันทีหนึ่ง
ในการเปลี่ยนฉากซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 นาที
จึงต้องปิดม่านเพื่อทำการขนย้ายสับเปลี่ยนละตกแต่งฉากใหม่โดยไม่ให้ผู้ชมต้องเสียความรู้สึกกับสภาพความโกลาหลบนเวทีและเพื่อไม่ให้ผู้ชมเกิดความเบื่อหน่ายระหว่างที่รอคอยการเปลี่ยนฉากก่อนละครจะเล่นองก์ต่อไป
จึงได้มีการจัดหานักร้องเสียงดีทั้งหลายมาคอยร้องเพลงกล่อมผู้ชมอยู่ที่หน้าม่านเวทีในช่วงเวลาที่ปิดม่านเปลี่ยนฉากอยู่นี้
ดังนั้นคำเรียกขานว่า
‘นักร้องหน้าม่าน’
จึงเกิดจากสภาพการณ์นี้การร้องเพลงหน้าม่านในแต่ละช่วง จะร้องกันประมาณ 2 เพลงตามเวลที่มีอยู่อย่างจำกัด
และตลอดทั้งเรื่องของละครเวทีเรื่องนั้นๆ ก็จะใช้นักร้องหน้าม่านสลับกันร้องประมาณ
2 คน
นักร้องหน้าม่านเหล่านี้จะเป็นนักร้องเสียงดีที่มีชื่อเสียงมาก่อนหรือไม่ก็จะเป็นผู้เคยผ่านเวทีการประกวดร้องเพลงมาแล้ว
ละมาเกิดที่ศาลาเฉลิมกรุงก็หลายคนสาเหตุที่ต้องเจาะจง
เลือกนักร้องเสียงดีมาร้องเพลงหน้าม่านเป็นเพราะว่า
ในครั้งนั้นการร้องเพลงสลับฉากหน้าม่านจะเป็นการร้องเพลงโดยสดๆ
โดยไม่มีวงดนตรีบรรเลงเสริมคอยช่วยเหลือ เมื่อยืนร้องเพลงอยู่ที่หน้ามันนั้น
คือพรสวรรค์และความสามารถของนักร้องแต่ละคนอย่างแท้จริง
นักร้องหน้าม่านของศาลาเฉลิมกรุงที่มีชื่อเสียงโด่งดังสมัยนั้นก็มี
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ,สถาพร
มุกดาประกร, ชาญ เย็นแข ,คำรณ สมบุญนานนท์ , นคร ถนอมทรัพย์
ฯลฯ
นอกจากความบันเทิงในรูปแบบของละครเวทีและการร้อง เพลงหน้าม่านนี่แล้ว
ทางศาลาเฉลิมกรุงการจัดวงดนตรีมาเล่นกันบ้าง
วงดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในขณะนั้นก็ได้แก่ วงดุริยะโยธิน
วงดนตรีทรัพย์สินฯ วงสุนทราภรณ์ เป็นต้น และได้มีการจัดการแสดงอื่นๆ
มาเสริมบ้างเช่น การแสดงละครย่อยของคณะจำอวด
ซึ่งปกติจะเล่นประจำอยู่ที่ศาลาเฉลิมบุรี โรงภาพยนตร์ในเครือเดียวกัน
การแสดงมหรสพในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมักจะมีผู้ชมมาชมกันแน่นขนัด
เพราะความที่ขาดแคลนการบันเทองเริงรมย์ต่างๆ
แม้บางครั้งจะต้องนั่งชมการแสดงพลางเงี่ยหูฟังสัญญาณเตือนภัยทางอากาศไปพลาง
แต่ก็มิได้มีการย่อท้อกันแต่ประการใดทั้งผู้แสดงและผู้ชม
บางคราทั้งฝ่ายผู้แสดงบนเวทีและผู้ชมด้านล่างก็ยังได้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ในอันที่จะบอกกล่าวร้องเตือนและชักชวนกันหาสถานที่ปลอดภัยหลบหลีก
เมื่อมีการโจมตีทางอากาศเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง ครั้นพอสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงละครเวที่ซึ่งกำลังเฟื่องฟูก็ยังคงยืนหยัดเป็นสิ่งบันเทิงกล่อมขวัญผู้ชมมาตลอดระยะเวลาแห่งการฟื้นตัวของประเทศไทยจากสงคราม
และยืนหยัดรอวันกลับมาฟื้นคืนอีกครั้งของภาพยนตร์ไทย เมื่อสภาพการณ์ของประเทศเริ่มก้าวสู่ความเจริญจากการปรับตัวหลังสงครามเศรษฐกิจการค้ารวมถึงการติดต่อกับต่างประเทศอยู่ในสภาพดีขึ้น
อุตสาหกรรมภาพยนต์ไทยจึงฟื้นตัวสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้ง นั่นจึงถึงกาลที่ “ละครเวที” ต้องลาโรงจากศาลาเฉลิมกรุงไปชั่วคราว
เพื่อรอวันเวลาที่ผู้รู้คุณค่าจะมาฟื้นคืน
“ฉันดูละครเวทีที่เฉลิมกรุงสมัยหม่อมเชื้อ หม่อมพร้อมแสดง
สนุกมาก ไปดูเกือบจะทุกรอบขนาดช่วงสงคราม ราคาบัตรตอนนั้นตั้ง 1 บาท ฉันยังไปดูเลย
หลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนมาเป็นฉายหนัง
จำได้ว่าคนแน่นต้องใช้เก้าอี้เสริมทุกรอบและใครที่เข้าไปดูหนังมักซื้อน้ำอัดลมและอ้อยติดไม้ติดมือเข้าไปกินกันเป็นประจำ
เวลาฉายหนังจบแล้วก็พากันเดินไปตลาดบำเพ็ญบุญเพราะมีทั้งข้าวมันไก่ ข้าวต้ม ซึ่งอร่อยมาก
ราคา 2-3 บาท ถ้าเป็นข้าวราดแกงก็
1 บาท ฉันไปกินกับแฟนเป็นประจำเวลาที่ดูหนังจบ”
มณี นาควิสัย
ชาวบ้านรอบๆเฉลิมกรุง
ยิ่งนานวัน
ความผูกพันของผู้คนที่มีต่อศาลาเฉลิมกรุงก็ยิ่งเพิ่มทวี โดยเฉพาะในยุคเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน
ศาลาเฉลิมกรุงถือว่าเป็นแหล่งศูนย์กลางความบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย
จนเป็นประเพณีนิยมของคนหนุ่มสาวสมัยนั้นที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯจะต้องมาใช้ชีวิตส่วนหนึ่งสัมผัสกับบรรยากาศของย่านนี้ คนในวัย 70 ปีขึ้นไปหลายคนอาจจะรำลึกถึงเมื่อครั้งได้มาสัมผัสกับย่านเฉลิมกรุงในยุคแรกเริ่ม ครั้งที่ยังมีห้างรัตนมาลาห้างสรรพสินค้าที่กำเนิดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
6
ตั้งอยู่ตรงหัวมุมถนนตรีเพชร มีร้านไนติงเกล ร้านค้าเครื่องดนตรีซึ่งเปิดกิจการมาตั้งแต่ปี
พ.ศ.2473
ย่านธุรกิจการค้าเดิมกลายเป็นอดีตที่คนรุ่นใหม่เกือบจะไม่รู้จัก หากไม่พลิกผันเปลี่ยนโฉมธุรกิจให้ทันท่วงที วันคืนแปรเปลี่ยนสรรพสิ่งไปตามกระแสความนิยมของผู้คน ท่ามกลางกระแสการพัฒนาอันเชี่ยวกราก ศาลาเฉลิมกรุงได้ยืนหยัดผ่านวันเวลามาด้วยบทบาทอันหนักแน่นมั่นคง
ดุจเดียวกับรูปทรงแข็งแกร่งของตัวอาคารที่ไม่อาจหวั่นไหวกับความคึกคักยามรุ่งเรืองและไม่อาจเจ็บปวดกับภาวะซบเซาร่วงโรย เป็นเพียงบทบาทของ ‘ผู้ชม’ ที่คอยชมเรื่องราว
ความคิดและความรู้สึกของผู้คนในแต่ละยุคสมัยที่เข้ามาให้ศาลาเฉลิมกรุงได้ชมและสัมผัส
เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นต่อๆไปเท่านั้น
ที่สำคัญ
ศาลาเฉลิมกรุงเป็นประหนึ่งประกาศนียบัตรรับรองความสำเร็จของบุคคลในสายอาชีพนี้ นับเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปีที่ศาลาเฉลิมกรุงเป็นเสมือนเสาหลักของวงการภาพยนตร์ไทย จากยุคแรกสู่ความเฟื่องฟูแล้วกลับซบเซาลง เมื่อวิวัฒนาการและเทคโนโลยี ใหม่ๆของโทรทัศน์และเครื่องเล่นวิดีโอได้ก้าวเข้ามาแย่งชิงความนิยมของผู้คนไป
ประกอบกับความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้กรุงเทพมหานครเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ย่านธุรกิจการค้าสำคัญเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากแหล่งเดิมความเป็นศูนย์กลางความเจริญและทันสมัย บ่ายโฉมหน้าไปสู่ย่านสีลม สยามสแควร์
และเริ่มกระจายออกเป็นจุดๆทั่วกรุงเทพมหานคร
 |
ลักษมี เพ็ญแสงเดือน
นักแสดง
|
“โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ทำให้หนังที่พี่แสดงเรื่องแรกซึ่งคือเรื่อง “ยอดหญิง”
ได้รับความนิยมและพี่ก็เกิดในวงการนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
เรียกได้ว่าเกิดเพราะศาลาเฉลิมกรุงความคิดของคนสมัยนั้นคือ หากใครได้ขึ้นมายืนบนเวทีเฉลิมกรุงแล้ว จะรู้สึกถึงความมีเกียรติ ความภาคภูมิใจ เพราะศาลาเฉลิมกรุงคือทุกสิ่งทุกอย่าง”