วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

มิติปัจจุบัน ศาลาเฉลิมกรุง


มิติปัจจุบัน

บทบาทหนึ่ง……สู่อีกบทบาทหนึ่ง
                    
            จากเรื่องราวของยุคสมัยหนึ่งที่จบตอนไป   สู่เรื่องราวตอนใหม่ของยุคปัจจุบัน  ศาลาเฉลิมกรุงในฐานะโรงมหรสพพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ดุจเดียวกับเวทีที่ไม่อาจร้างการแสดงเป็นโรงมหรสพที่ไม่อาจร้างผู้ชม เมื่อความนิยมของผู้คนผันแปรไปอย่างไม่อาจฝืนกระแส ก็ย่อมถึงเวลาแห่งการปรับจุดยืนเปลี่ยนบทบาทการวางตัวใหม่ของศาลาเฉลิมกรุงเช่นกัน
โดยความเห็นชอบจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และษริษัทสหศีนิมาผู้ดูแลกิจการโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงอยู่เดิมได้ให้ความร่วมมือสำหรับการเข้ามาของบริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ในการปรับปรุงศาลาเฉลิมกรุงให้เป็นโรงมหรสพเพื่อการแสดงระดับสากล อันเป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ
เป็นการรื้อฟื้นอดีตอันเคยรุ่งเรืองให้กลับคืนมาในบทบาทใหม่….อีกครา นับเป็นเวลา 60 ปีที่ศาลาเฉลิมกรุงได้รับรองให้ความบันเทิง สนุกสนานแก่ผู้คนในบทบาทหรือสถานะของโรงภาพยนตร์ และเวทีการแสดงมหรสพ จนถึงวันที่ ตุลาคม พ..2535 วันสุดท้ายที่จะยุติการแสดงไว้ชั่วคราวเพื่อทำการปรับปรุงครั้งใหญ่และเพื่อดำเนินกิจการแสดงอันเป็นการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมและนาฏศิลป์ของไทยคือการแสดงโขนในลักษณะประยุกต์ใหม่ที่เรียกว่า โขนจินตนฤมิต” และการแสดงละครเวที ซึ่งนับเป็นการอนุรักษ์และช่วยส่งเสริมศิลปะบันเทิงในด้านนี้ให้มีพัฒนาการที่แพร่หลายสู่ระดับสากลประเทศและสามารถสืบทอดถึงคนรุ่นต่อไป

                        
                        ด้วยเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาทในการบูรณะปรับปรุงส่วนโครงสร้างและสถาปัตยกรรมภายใน โดยยึดแนวทางที่จะอนุรักษ์งานโครงสร้างเดิมไว้เป็นหลักการต่อเติมและปรับแต่งจะทำเฉพาะในส่วนที่จำเป็นเพื่อความสอดคล้องและเอื้ออำนวยต่อการแสดงในลักษณะที่ตัวเวทีเป็นหลักในการชม ซึ่งต่างจากภาพยนตร์ที่เป็นการชมภาพจากจอฉายภาพยนตร์   ส่วนการตกแต่ง แม้จะมีการเพิ่มเติมความเป็นไปของยุคสมัยปัจจุบันและเสริมความหรูหราให้สมกับการเป็นโรงมหรสพ ที่เชิดหน้าชูตาของประเทศบ้างแต่ก็ยังคงแนวทางศิลป์ในแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ไว้ตลอด กระทั่งบรรยากาศโดยรอบที่จะมีการโยงใย รูปแบบวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยเปิดศาลาเฉลิมกรุงแรกๆ มาประกอบไว้ให้ได้ชมกัน และด้วยใจที่มุ่งมั่นอดทนไว้ย่อท้อต่ออุปสรรคนานัปการ ในการดำเนินการปรับปรุงโรงมหรสพที่มีอายุยืนยาวเก่าแก่ถึง 60 ปีนี้ โดยไม่มีแบบพิมพ์โครงสร้างหลักของอาคารให้ดูเพื่อเป็นการชี้นำอย่างกระจ่างชัด การคลำหาลู่ทางในการออกแบบและดำเนินการปรับปรุงซึ่งเป็นไปด้วยความลำบากยากเย็น ในแนวทางที่ต้องการอนุรักษ์โครงสร้างของเดิมไว้โดยพยายามไม่กระทบกระเทือนรูปแบบเก่าให้เสียหาย และในวงเงินงบประมาณที่จำกัดมิได้เกินแรงความสามารถสำหรับดำเนินการ กลายเป็นแรงบีบคั้นที่กดดันและท้าทายดวงใจหาญสู้ของผู้ที่ก้าวเข้ามา ไม่มีการถอยพลังสำหรับความสำเร็จและยิ่งกว่ากำลังเงิน คือ กำลังใจที่มาจากความตั้งใจจริง คงไม่มีใครกล่าวได้ถึงกำลังใจอันเป็นแรงผลักดันให้การดำเนินการทั้งหลายลุล่วงดุจเดียวกับมานิต รัตนสุวรรณ 



                เมื่อการแสดงที่จะนำเสนอเพื่อเปิดบทบาทใหม่ศาลาเฉลิมกรุงเป็นการแสดงซึ่งเน้นการชมที่เวทีมิใช่การชมภาพยนตร์บนจอฉายเช่นเคย จึงต้องมีการปรับระดับที่นั่งจองผู้ชมใหม่ให้สามารถชมการแสดงได้ทั่วเวทีโดยไม่เกิดการเหลื่อมบังสายตากันและลดจำนวนที่นั่งจากเดิมกว่าพันที่นั่งลงเหลือหกร้อยกว่าที่นั่งเพื่อให้เกิดความสบายในการชมมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการนำส่วนของบัลโคนี่ที่เคยมีอยู่เดิมในสมัยแรกมาปรับใช้ให้เหมาะสมอีกครั้ง



                        ส่วนเวทีมีการขยายเพิ่มขึ้นอีก เมตรเพื่อรองรับการแสดงในลักษณะที่ต้องใช้พื้นที่เช่นการแสดงโขน ซึ่งจำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับฉากและพื้นที่สำหรับการแสดงเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการทำเวทีให้เป็นระบบที่ยกได้ด้วยไฮโดรลิกเพื่อยกผู้แสดงหรือฉากบางฉากขึ้นมา   ภายในห้องโถงใหญ่สำหรับชมการแสดง มีการปรับปรุงฝ้าเพดานและฝาผนังทั้งด้านใหม่ เนื่องจากของเดิมอยู่ในสภาพที่ผุพังแล้ว แต่การปรับปรุงก็ยังคงยึดแนวที่จะรักษารูปแบบเดิมไว้นอกจากพื้นที่บางส่วน เช่น บริเวณผนังส่วนที่ใกล้กับเวทีและด้านบน ซึ่งจำเป็นต้องปรับแต่งเพื่อความเหมาะสมในการวางตำแหน่งส่วนประกอบและอุปกรณ์อำนวยการแสดงต่างๆ
                        ในส่วนของการออกแบบตกแต่ง ก็ยังคงยึดแนวทางเดิมที่มีการผสานงานสถาปัตยกรรมตะวันตกกับศิลป์ไทยไว้ด้วยกัน โดยคงตัวงานศิลป์ไทยที่มีอยู่แต่แรกไว้ทุกชิ้น แล้วเสริมความเป็นยุคสมัยปัจจุบันกับความหรูหราเพื่อสร้างจุดเด่นในการเป็นสถานบันเทิงระดับสากลเพิ่มขึ้นด้วยงานออกแบบตกแต่งและการเลือกใช้โทนสีม่วง สีแดงและสีทอง คือโทนสีที่เลือกใช้เป็นหลัก เพื่อเน้นความรู้สึกของบรรยากาศความเป็นโรงมหรสพหลวงในแง่นามธรรม สีแดงและสีทองคือความรู้สึกหรูหราของโรงละครระดับสากลส่วนสีม่วงให้ความรู้สึกสง่าขรึมและสูงส่งในแบบของไทย นอกจากนี้ยังมีการนำสีแดงชาดซึ่งเป็นสีแดงในลักษณะไทยมาใช้สำหรับฝ้าเพดานอีกด้วย  นอกจากนี้ในเรื่องของระบบไฟแสงสีและเสียง ได้มีการนำระบบและอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เนื่องจากระบบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความรู้สึกร่วมของการแสดงโขนจินตรฤมิตนั่นเอง
                 จากภายในห้องโถงใหญ่ที่ได้รับการปรับปรุงตกแต่งให้งดงามหรูหราขึ้น สู่ภายนอกห้องโถงด้านหน้า ซึ่งเป็นที่รับรองผู้มาเยือนเป็นด่านแรก การตกแต่งภายในยังคงรูปแบบเดิมไว้เช่นกัน เพียงแต่ดัดแปลงบริเวณโถงด้านหน้าให้เป็นห้องที่มีการปรับอากาศ เพื่ออำนวยความสบายในขณะรอชมการแสดงของผู้มาชมเพิ่มขึ้น



เฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์
2 กรกฎาคม 2536
            
              60 ปีให้หลัง...เมื่อบทบาทเดิมของการเป็นโรงภาพยนตร์อันเก่าแก่ได้ผ่านพ้นโรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุงเปิดตัวขึ้นอีกครั้งภายหลังการหยุดปรับปรุงตกแต่งอาคารใหม่และเตรียมพร้อมสำหรับการแสดง ด้วยบทบาทในการเป็น ‘เฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์’ เมื่อเวทีของโรงมหรสพ แห่งนี้พร้อมแล้วไฟแสงสีเสียงพร้อมแล้ว  ม่านพร้อมเปิดขึ้นอีกครา
                การแสดงอันเป็นนาฏลีลาศิลปะไทยในมิติใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว “โขนจินตนฤมิต” คือชื่อที่ใช้เรียก    การแสดงซึ่งเฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์จัดเสนอแก่ผู้ชมในครั้งนี้ โดยนัยความหมายอันนิยามถึงคำ ‘จินตนฤมิต’ ว่าคือการนำจินตนาการมาสร้างให้สมจริงสมจัง เพราะนาฏลีลาโขนเป็นการแสดงศิลปะที่ต้องใช้จินตนาการของผู้ชมเป็นตัวสร้างเสริมอยู่แล้ว เพื่อทำให้จินตนาการนั้นมีความสมจริงสมจังขึ้น จึงช่วยให้การชมโขนได้อรรถรสเพิ่มมากขึ้นไปด้วย





            การแสดงโขนจินตนฤมิตนั้นเป็นการนำลีลาโขนมาแสดงในอีกลักษณ์หนึ่ง ซึ่งมีวิธีการปรับวิธีนำเสนอให้เข้ากับวิธีแนวคิดของคนยุคนี้ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆทางด้านเทคนิคพิเศษ มีการนำเทคโนโลยีทางด้านแสงสีเสียงมาช่วยเสริมประกอบเป็นการแสดงโขนในลักษณะร่วมสมัยแต่คงเอกลักษณ์การแสดงและท่าร่ายรำในแบบแผนของนาฏลีลาโขนอันแท้จริงไว้
            จากแนวคิดของผู้ดูแลกิจการโรงมหรศพเฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์ในยุคปัจจุบันคือบริษัท เฉมิลกรุงมณีทัศน์ ที่ริเริ่มมาจากความรักในศิลปะการแสดงโขนเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับความต้องการอนุรักษ์การแสดงนี้ไว้ให้คงมีการสืบสานสืบทอดต่อไป   เมื่อ “โขน” นาฏศิลป์ชั้นสูงที่เคยรุ่งเรืองถึงระดับที่ว่าเป็นมหรสพหลวงแล้วมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า300ปี กำลังถึงกาลซบเซาด้วยขาดความสนใจจากผู้ชม เนื่องจากวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปทำให้ความคิดและความรู้สึกของคนที่มีต่อการเสพงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของไยค่อยกลับกลายไป

            
                 
                   ความปราณีความอ่อนช้อย งดงามละเอียดลออ ในลักษณะแบบแผนของงานนาฏศิลป์ไทยมักจะถูกมองจากคนรุ่นใหม่ๆว่าเป็นสิ่งที่เยิ่นเน้อ เชย น่าเบื่อหน่ายและไม่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้เพียงพอ จึงมีแนวโน้มอันเป็นไปได้ที่ “โขน” จะถูกการแสดงสมัยใหม่ค่อยเบียดกลืนจนหายจากความสนใจของผู้คนไปในที่สุด   คงจะเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งเพราะเมื่อมองย้อนกลับไปในวันเวลาแห่งอดีต การแสดงโขนได้หยั่งรากลึกลงในวิถีชีวิตและจิตใจของคนไทยมาเนิ่นนาน
                จากเค้าโครงเรื่องในมหากาพย์รามายณะอันเลื่องลือที่คนไทยรู้จักกันดี “รามเกียรติ์”  เรื่องราวหลังสำหรับการแสดงโขนโดยสืบทอดประวัติความเป็นมาสามารถดำเนินสืบทอดต่อไปถึงคนรุ่นหลังแล้ว ยังเป็นการช่วยส่งเสริม ฟื้นฟูและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น
            เพราะโขนจินตนฤมิตยังคงยึดถือแบบแผนแห่งการแสดงโขนไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งท่ารำ เครื่องทรง การมีบทพากย์ เพียงแต่มีการทำให้โครงสร้างของเรื่องราวมีความกระชัดและรวบรัดขึ้น  ส่วนทางด้านเทคนิคพิเศษที่ใช้ประกอบแสดงโขนจินตนฤมิตเพื่อช่วยสร้างจินตนาการให้สมจริงสมจังขึ้นนั้นเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยที่นำระบบการทำสไลด์มัลติวิชั่นประกอบแสงสีเสียง ซึ่งควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้  นอกจากละครเวทีแล้วทางเฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์ยังได้จัดให้มีการแสดงอื่นๆมาเสริมด้วยตลอดเช่น การแสดงคอนเสิร์ต “อันปลั๊ก” ของสองหนุ่มนักดนตรีเพื่อชีวิต เล็ก คาราบาว และพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์,การแสดงอุปรากรจีน เมื่อต้นเดือนกันยายน 2536นิทรรศการ ร.7 เมื่อวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2536การแสดงคอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536การแสดงคอนเสิร์ต “ดีด สี ตี เข่า” โดยกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2537


            และทางเฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์ยังมีการเอื้อเฟื้อสถานที่สำหรับการจัดงานที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์และศิลปการแสดงต่างๆอีกด้วย เช่น งานประกาศผลการประกวดตุ๊กตาทอง ประจำปี 2536 โดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงงานสัปดาห์ส่งเสริมภาพยนตร์ไทย 4 มุมเมือง ของสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 1-10 เมษายน 2537 และจัดฉายภาพยนตร์การกุศลเรื่องอำแดงเหมือนกับนายริด ละครเวทีเรื่องแรด ของนายคณะละครสองแปด ภาพยนตร์เรื่องกาเหว่าที่บางเพลง เป็นต้น

                              
         ทั้งนี้ในปัจจุบัน โรงภาพยนต์ได้มีการพัฒนาให้เกิดความสะดวกสบายในการรับชมภาพยนต์เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีภาพยนต์จากต่างประเทศเข้ามาฉายในประเทศไทย ทำให้การชมภาพยนต์เกิดมิติที่หลากหลายขึ้น 




ภาพบรรยากาศโรงภาพยนต์ในปัจจุบัน


มิติอนาตค ศาลาเฉลิมกรุง

มิติอนาคต

บทวิเคราะห์

               จากการที่เราได้ศึกษาเรื่อง “เมื่อค่านิยมเปลี่ยนไป ศาลาเฉลิมกรุงจะเป็นเช่นไร” สิ่งแรกที่เราพบคือ ในอดีต ศาลาเฉลิมกรุงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากประชาชน ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่มีคนอย่างมากมายหลั่งไหลเข้ามาดูหนังที่ศาลาเฉลิมกรุงอย่างเป็นนิจ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานจากบทสัมภาษณ์จากนักแสดงรุ่นเก่าที่เคยได้มีโอกาสฉายภาพยนตร์ของตนในศาลาเฉลิมกรุง จะเห็นได้ว่าทุกคนล้วนมีความภาคภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างมาก นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องยืนยันเศรษฐกิจของไทยในยุคนั้นอีกด้วย และเมื่อเวลาผ่านไปย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเสมอเช่นเดียวกับค่านิยมของคนไทยและศาลาเฉลิมกรุง พวกเราพบว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ค่านิยมของคนไทยเปลี่ยนไปและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของศาลาเฉลิมกรุง สิ่งที่พวกเราเห็นได้ชัดก็คือ การดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากอดีต และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่าง

                สาเหตุสำคัญก็คือ วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น เทคโนโลยี ศาลาเฉลิมกรุงเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตที่ส่งผลต่อความเป็นไปของบางสิ่งบางอย่างทางสังคม จะเห็นได้ว่าในอดีตนั้น หากเราต้องการชมภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งที่คนทั่วไปทำ คือ การไปหาโรงภาพยนตร์เพื่อชม แต่ในปัจจุบัน สังคมและวิถีชีวิตได้เปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อน เรามีตัวเลือกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ในการชมภาพยนตร์ หรือวิธีการต่างๆในการชมภาพยนตร์ เช่น การที่เทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองคนในยุคปัจจุบัน เช่น โทรศัพท์ โน้ตบุ๊ค แท็บเลต ที่สามารถเป็นทางเลือกใหม่ให้กับคนปัจจุบันให้สะดวกสบายเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และนี้เป็นสาเหตุ ที่ทำให้ศาลาเฉลิมกรุงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากโรงภาพยนตร์ที่โด่งดังมาเป็นโรงละครหรือมหรสพหลวงในปัจจุบันนั่นเอง



                                     รายงาน วิชาไทยศึกษาเชิงประจักษ์

                         หัวข้อ    ศาลาเฉลิมกรุง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต 

                                      รหัสวิชา o๑๙๙๙o๓๒ ไทยศึกษา

                              อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.รัญวรัชญ์  พูลศรี 

                                       ภาคปลาย ปีการศึกษา ๒๕๕๙

  
 ผู้รับผิดชอบโครงงาน  กลุ่ม B-๒


              (หัวหน้า) ๕๙๑๐๘๕๓๐๙๑ นางสาว สุภาภรณ์ สุภาพงษ์ คณะ สังคมศาสตร์
           
             (รองหัวหน้า) ๕๙๑๐๘๕๓๐๕๘ นางสาว เยาวลักษณ์ มนัสปิยะเลิศ คณะ สังคมศาสตร์

             (เลขานุการ) ๕๙๑๐๘๕๔๙๐๙ นางสาว สไบงาม ภาณุวรรณากร คณะ สังคมศาสตร์

             (สมาชิก) ๕๖๑๐๘๕๕๕๐๑ นางสาว เมธาวี เขียววิจิตร คณะ สังคมศษสตร์ 

             (สมาชิก) ๕๙๑๐๘๕๒๗๖๑ นางวสาว กรวรรณ ยอดเพชร คณะ สังคมศาสตร๋ 
      
             (สมาชิก) ๕๙๑๐๘๕๓๑๑๒ นางสาว อุษณี ถีระปราโมทย์ คณะ สังคมศาสตร์

             (สมาชิก) ๕๙๑๐๘๕๔๘๔๔ นางสาว จิราวรรณ อรรคทิมากูล คณะ สังคมศาสตร์

             (สมาชิก) ๕๙๑๐๘๕๔๘๖๑ นางสาว ธัญญานันท์ ตรังธรสินวัชร คณะ สังคมศาสตร์ 

             (สมาชิก) ๕๙๑๐๘๕๔๘๗๙ นางสาว ปุณยนุช นารอด คณะ สังคมศาสตร์
          
             (สมาชิก) ๕๙๑๐๘๕๔๘๒๕  นางสาว อิงกมลสมานคุณ คณะ สังคมศาสตร์

             (สมาชิก) ๕๙๑๐๘๕๔๘๔๑ นางสาว เมธาพร บรรยง คณะ สังคมศาสตร์

             (สมาชิก) ๕๙๑๐๘๕๔๙๘๔ นางสาว สรินดา ทนงศักดิ์ คณะ สังคมศาสตร์

บทสรุป

บทสรุป


         จากการที่เราได้ศึกษาเรื่อง เมื่อค่านิยมเปลี่ยนไป ศาลาเฉลิมกรุงจะเป็นเช่นไรสิ่งแรกที่เราพบคือ 
ในอดีต ศาลาเฉลิมกรุงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากประชาชน ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่มีคนอย่างมากมายหลั่งไหลเข้ามาดูหนังที่ศาลาเฉลิมกรุงอย่างเป็นนิจ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานจากบทสัมภาษณ์จากนักแสดงรุ่นเก่าที่เคยได้มีโอกาสฉายภาพยนตร์ของตนในศาลาเฉลิมกรุง จะเห็นได้ว่าทุกคนล้วนมีความภาคภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างมาก นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องยืนยันเศรษฐกิจของไทยในยุคนั้นอีกด้วย  และเมื่อเวลาผ่านไปย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเสมอเช่นเดียวกับค่านิยมของคนไทยและศาลาเฉลิมกรุง 


พวกเราพบว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ค่านิยมของคนไทยเปลี่ยนไปและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของศาลาเฉลิมกรุง สิ่งที่พวกเราเห็นได้ชัดก็คือ การดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากอดีต และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่าง สาเหตุสำคัญก็คือ วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น เทคโนโลยี ศาลาเฉลิมกรุงเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตที่ส่งผลต่อความเป็นไปของบางสิ่งบางอย่างทางสังคม จะเห็นได้ว่าในอดีตนั้น หากเราต้องการชมภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งที่คนทั่วไปทำ คือ การไปหาโรงภาพยนตร์เพื่อชม แต่ในปัจจุบัน สังคมและวิถีชีวิตได้เปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อน เรามีตัวเลือกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ในการชมภาพยนตร์ หรือวิธีการต่างๆในการชมภาพยนตร์ เช่น การที่เทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองคนในยุคปัจจุบัน เช่น โทรศัพท์ โน้ตบุ๊ค แท็บเลต ที่สามารถเป็นทางเลือกใหม่ให้กับคนปัจจุบันให้สะดวกสบายเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และนี้เป็นสาเหตุ ที่ทำให้ศาลาเฉลิมกรุงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากโรงภาพยนตร์ที่โด่งดังมาเป็นโรงละครหรือมหรสพหลวงในปัจจุบันนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บรรณานุกรม

ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุุธยา, คุณวิชา วรมาลี, คุณมานิต รัตนสุวรรณ. ม.ร.ว.รมณียฉัตร แก้วกิริยา.ศาลาเฉลิมกรุง. กรุงเทพฯ ; อินเตอร์สแตนดาร์ด พริ้นติ้ง

แหล่งสืบค้นประเภทออนไลน์

มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัติย์. สืบค้นจาก http://www.crownpropertyfoundation.org/article-detail.php?id=8 (สืบค้นวันที่ 11 พฤษาคม 2560 )

ประวัติโรงภาพยนต์ศาลาเฉลิมกรุง. สืบค้นจาก http://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=filmlover&month=09-12-2007&group=7&gblog=14 (สืบค้นวันที่ 11 พฤษภาคม 2560 )

สถาบันพระปกเกล้า.ศาลาเฉลิมกรุง. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87 (สืบค้นวันที่ 11 พฤษภาคม 2560 )

ผู้จัดการออนไลน์.ศาลาเฉลิมกรุง“โรงภาพยนตร์แห่งชาติ” ร.๗ พระราชทานให้เชิดหน้าชูตาประเทศ อันดับหนึ่งของเอเซีย. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000066330 (สืบค้นวันที่ 11 พฤษภาคม 2560 )

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คุณรู้จักศาลาเฉลิมกรุงดีแค่ไหน ???


https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.dek-d.com%2Fquiz%2Fsupertest%2F56446%2F&h=ATOCvzORLXievnTF8vyykSXqQX7sIXAfmeFs-rCnve3lKTJWYOfwu7HC9VrskjTmc-KUdC4D4L4V241GFTX3zI8zIkQlLwLS8KSDGbyxlwXPp8pB0URgj-tdoCSgsoFtISmHibg

บทสัมภาษณ์

Q: คุนป้าทำงานมาที่นี่นานรึยังคะ

Q: ตั้งแต่คุณป้าเข้ามาทำงาน ภายในตัวอาคารมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างไปบ้างคะ
A : ภายในตัวอาคารเป็นแบบนี้หมดเลย ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมาก แต่เมื่อก่อนเป็นโรงหนัง

Q : พื้นที่ตรงนั้นเมื่อก่อนเป็นอะไรคะ (ข้างบันได)
A : ที่ขายป๊อบคอนค่ะ

Q : เมื่อก่อนตอนที่ยังเป็นโรงภาพยนตร์เปิดถึงดึกไหมคะ
A: ก็หนังรอบสุดท้ายฉายจบ ประมาณ 3ทุ่มครึ่ง

Q: เพราะอะไรถึงเปลี่ยนเป็นโรงละคร

Q : ตอนที่ฉายภาพยนตร์คนดูเยอะมั้ยคะ
A : หนังไม่บูม วีดีโอหนังฉายไม่ได้เงิน

Q : ตอนนี้ศาลาเฉลิมกรุงยังเป็นโรงละครและสามารถเช่าสถานที่ได้ใช่มั้ยคะ
A : ใช่ค่ะ สามารถเช่าสถานที่ได้ทุกรูปแบบ

Q : ในปัจจุบัย คนที่มาเป็นวัยรุ่น หรือผู้สูงอายุมากกว่ากันคะ
A : หลากหลายวัย มีทั้งนิสิตนักศึกษา และผู้สูงอายุ

Q : เคยมีนักษามาทัศนศึกษาดูงานไหมคะ
A : ก็มีบางแล้วแต่บางโอกาส

Q : ในอนาคตจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือป่าวคะ

Q : S&P  มาเปิดนานหรือยังคะ


A : ประมานปี 2536



บรรยากาศโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในอดีต

ย้อนยุค




.       "เกิดปีเดียวกับที่ เอลวิส เพรสลี่ย์ เสียชีวิต เลยปี 70 มา 7 ปี อยู่แถววังบูรพา ยังทัน โรงหนัง แกรนด์ ควีน คิงส์ เฉลิมกรุง เฉลิมไทย แม่ไปดูซื้อตั๋ว ใบละ 20 เราเป็นเด็ก เข้าฟรี  ไปนั่งตัก แต่ถ้าโรงหนังไม่เต็ม ก็นั่งตรงที่ว่าง "

                                    ความคิดเห็นจาก Pantip



ถนนเจริญกรุง ปีพ.ศ.2503
สุขุมวิท เมื่อปี พ.ศ.2527 หรือ 30 ปีก่อน








ตำนานแห่งแห่งศาลาเฉลิมกรุง


มิติอดีต


              
                ตำนานแห่งแห่งศาลาเฉลิมกรุงมิใช่เป็นเพียงโรงภาพยนตร์โรงหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับความรุ่งเรืองของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังเป็นตัวแทนของความเฟื่องฟูของวงการภาพยนตร์ในประเทศในอดีตที่ผ่านมาด้วย

โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในอดีต
                 
               ในเวลานั้นได้มีการสร้างโรงภาพยนตร์ที่มีลักษณะสวยงามภูมิฐานเป็นสง่าราศีแก่เมืองได้ ประกอบกับควเมื่อกรุงเทพมหานครจะมีการฉลองกรุงครบ 150 ปี ได้มีการประชุมหารือกันในคณะรัฐบาลเพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่ซึ่งสามารถอำนวยสาธารณประโยชน์เป็นที่ระลึกแห่งการเฉลิมฉลอง ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชดำริให้จัดสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯ กับกรุงธนบุรีให้มีความเจริญพัฒนาทัดเทียมกันพร้อมทั้งได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไว้ที่เชิงสะพานฝั่งพระนครด้วย เพื่อเป็นที่รำลึกถึงพระองค์ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครและพระราชวงศ์จักรี และในโอกาสเดียวกันนั้น จากแนวพระราชดำริที่ทรงเห็นว่าสิ่งบันเทิงที่เฟื่องฟูมากที่สุดในโลกยุคนั้นก็คือ ภาพยนตร์ และแม้ว่าามที่ทรงรอบรู้และเป็นนักนิยมภาพยนตร์ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์กว่า 9 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงภาพยนตร์สำหรับฉายภาพยนตร์เสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย อีกทั้งยังมีลักษณะภูมิฐานเป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศได้


โรงภาพยนตร์สำหรับฉายภาพยนตร์เสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

               ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร สถาปนิกผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันชั้นนำของประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ได้พระราชทานนามของโรงมหรสพเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบและเป็นอนุสรณ์แห่งงานเฉลิมฉลองกรุงเทพฯ 150 ปี ว่า    “ศาลาเฉลิมกรุง”

หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร

               ที่ตั้งของศาลาเฉลิมกรุงนี้แต่เดิมในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินบริเวณระหว่างถนนเจริญกรุงและถนนพาหุรัดช่วงหลังวังบูรพาภิรมย์ระหว่างถนนบรูพาและถนนตรีเพชร โดยวางผังตัดถนนเป็นรูปกากบาทในพื้นที่ดินรูปสี่เหลี่ยมนี้ ด้วยว่าเดิมทรงพระราชดำริที่จะทำให้เป็นย่านการค้า แต่แนวพระราชดำรินี้ก็มิได้บรรลุวัตถุประสงค์ คงปล่อยเป็นลายโล่งๆ ที่ตรงกลางมีถนนสองสายตัดกันเหลือไว้ ต่อมาผู้คนเรียกบริเวณนี้ว่า  “สนามน้ำจืด”



ตรงกลางมีถนนสองสายตัดกัน

               นอกจากบริเวณที่ตั้งศาลาเฉลิมกรุงจะเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญแล้ว ที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในสมัยนั้นอีกด้วยเพราะตลอดแนวใกล้เคียงถนนเจริญกรุงไปจรดสามแยก (ต้นประดู่) เป็นแหล่งรวมโรงมหรสพที่สำคัญของยุคนั้น เช่น โรงภาพยนตร์นาครเขษม โรงภาพยนตร์พัฒนากร โรงภาพยนตร์สิงคโปร์ (ศาลาเฉลิมบุรี) ฯลฯ อีกทั้งบรเวณฝั่งตรงข้ามของศาลาเฉลิมกรุง คือตลาดบำเพ็ญบุญ ก็เป็นแหล่งที่ผู้คนมาเที่ยวหาความสำราญกันคึกคักทั้งจาการรับประทานอาหาร และชมมหรสพการแสดงต่างๆ

ที่นั่งชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในอดีต

                 จากเหตุผลของความเหมาะสมดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพิจารณาเลือกพื้นที่บริเวณนี้สำหรับสร้างศาลาเฉลิมกรุง อนึ่ง ทรงเห็นว่าที่ตรงนี้เป็นเส้นทางเดียวกับที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์และสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วย  การก่อสร้างอาคารศาลาเฉลิมกรุงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2473   โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมา
ทรงวางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง จากนั้นบริษัทบางกอกจึงเริ่มงานก่อสร้าง


การสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
 หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม  กฤดากร  ทรงออกแบบอาคารศาลาเฉลิมกรุงในรูปแบบสากลสมัย (International Style หรือ Modern Style) หรือที่สถาปนิกรุ่นหลังเรียกว่า Contemporary Architecture ตัวอาคารมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูงตระหง่านมั่นคง ผึ่งผาย ตามแบบตะวันตก โครงสร้างของอาคารแข็งแรงมาก รับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันก็เปิดเนื้อที่กว้างขวางภายในโดยไม่มีเสามาบังตา ส่วนประกอบอื่น เช่น ผนัง ประตูบานพับ ยังเน้นถึงความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปชมภาพยนตร์เป็นสำคัญ

ทางเข้าโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง

                ในสมัยนั้นอาคารเฉลิมกรุงจัดได้จัดว่าเป็นอาคารที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียขณะนั้น มีความสวยงามเป็นที่น่าตื่นเต้นและภาคภูมิใจของผู้ที่ได้มาสัมผัสชื่นชม สามารถจุผู้ชมได้เป็นพันคน มีการออกแบบตกแต่งภายในอย่างวิจิตรงดงามด้วยศิลปะไทยสอดผสานกับศิลปะตะวันตก มีระบบแสงสีที่แปลกตาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มีระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบ มีระบบปิด-เปิดม่านอัตโนมัติ เป็นโรงมหรสพแห่งแรกของประเทศไทยที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ นอกจากนั้นยังจัดฉายภาพยนตร์ชั้นดีโดยเฉพาะภาพยนตร์ต่างประเทศเสียงในฟิล์ม  โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในยุคแรกเริ่มจึงเป็นที่ชุมนุมของคนที่มีการศึกษาดี มีความรู้ภาษาต่างประเทศและผู้ที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศ


โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
                 
              ครั้นต่อมาถึงยุงภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟู ศาลาเฉลิมกรุงเป็นเสมือนหนึ่งศูนย์กลางวงการบันเทิงอย่างแท้จริง จนนับว่าเป็น “ฮอลลีวูดเมืองไทย” ก็ว่าได้ ศาลาเฉลิมกรุงเป็นศูนย์รวมของแหล่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเป็นศูนย์รวมของผู้คนในวงการภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่ผู้สร้าง ผู้กำกับ ดารา ตัวประกอบ ทีมงาน นักพากย์ นักร้อง ช่างเขียนโปสเตอร์ ฯลฯ และเป็นสถาบันในการผลิตบุคลากรทางด้านภาพยนตร์และละครของไทย ศาลาเฉลิมกรุงเป็นเหมือนประกาศนียบัตรรับรองความสำเร็จของบุคคลในสายอาชีพนี้ ตลอดไปจนถึงบริษัทสายหนังต่างๆ ที่มาตั้งกิจการอยู่ในละแวกด้านหลังศาลาเฉลิมกรุง
               ศาลาเฉลิมกรุง ถือว่าเป็นส่วนสำคัญและส่งเสริมให้พื้นที่โดยรอบพัฒนาตัวเองขึ้น จากการเป็นย่านธุรกิจการค้าสำคัญสู่ความรุ่งเรืองในระดับที่เป็นศูนย์กลางความเจริญ และความทันสมัยของยุคนั้น จากเสาชิงช้าลงไปถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา และระเรื่อยตลอดสองฝั่งถนนเจริญกรุงไปจนถึงสำเพ็ง และตลาดน้อยกลายเป็นแหล่งธุรกิจนานาชนิด  ความชื่นชมของประชาชนที่มีต่อศาลาเฉลิมกรุงไม่ได้มีเพียงแต่ในระยะแรกเริ่มเท่านั้น หากยังดำรงต่อมาอีกเนิ่นนานนับเป็นสิบๆปี ศาลาเฉลิมกรุงถือว่าเป็นแหล่งศูนย์กลางความบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย จนเป็นประเพณีนิยมของคนหนุ่มสาวสมัยนั้นที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ จะต้องมาใช้ชีวิตส่วนหนึ่งสัมผัสกับบรรยากาศของย่านนี้ ขนาดที่ส่าใครไม่รู้จักศาลาเฉลิมกรุงจะถือว่า “เชย” ที่สุดทีเดียว  ศาลาเฉลิมกรุงและย่านใกล้เคียงได้ซบเซาลงไปชั่วระยะหนึ่ง เนื่องจากวิวัฒนาการของสังคม กระแสทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของผู้คน แต่มาบัดนี้ก็ได้ถึงยุคที่ฟื้นฟูให้เฉลิมกรุงกลับมีชีวิตเป็นโรงภาพยนตร์พระราชทานอีกครั้งหนึ่ง   ด้วยอดีตที่ผูกพันกับหลายสิ่งหลายอย่างที่เข้มข้น ผูกพันกับชีวิตคนเป็นจำนวนมาก ผูกพันกับประวัติศาสตร์ของสังคมไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเวลานาน เฉลิมกรุงจึงควรแก่การสนใจ ทะนุถนอมไว้เพื่อให้เป็นโรงภาพยนตร์พระราชทานสมดังพระราชประสงค์สืบไป


โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในปี พ.ศ. 2532

ศาลาเฉลิมกรุงวันวาน
              
                บทบาทของศาลาเฉลิมกรุงในฐานะโรงมหรสพที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้เป็นสถานที่หย่อนใจสำหรับประชาชน  ก็ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ณ วันอาทิตย์ที่  2  กรกฎาคม  พ..2476  โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี  (...มูล  ดารากร)   เป็นผู้แทนพระองค์มาประกอบพิธีเปิดศาลาเฉลิมกรุง


บริเวณทางเข้าโรงภาพยนตร์ศษลาเฉลิมกรุง

                 ครั้งนั้น  ประชาชนทั้งหลายได้มาชุมนุมกันอย่างมากมายเพื่อรอชมพิธีเปิดอันเป็นงานมโหฬารและด้วยใจที่จดจ่อรอโอกาสได้สัมผัสกับความอลังการของสถานมหรสพนาม  "ศาลาเฉลิมกรุง" นี้จากข่าวหนังสือพิมพ์ศรีกรุงฉบับวันพุธที่  กรกฎาคม  พ..2476    ระบุว่าในงานพิธิเปิดศาลาเฉลิมกรุงนี้  มีประชาชนพากันไปชุมนุมมากมายจนรถรางและยวดยานต่างๆที่สัญจรในถนนโดยรอบต้องพากันหยุดชะงักอยู่ชั่วคราวและเสียงของประชาชนที่ได้เข้าไปสัมผัสและชมภาพยนตร์ที่ศาลาเฉลิมกรุงต่างพากันออกปากว่ามีทั้งความงามและความสบายตลอดเวลา  นับได้ว่าเป็นโรงมหรสพที่ทันสมัยในเอเชียในขณะนั้น อาจกล่าวได้ว่าโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง  เมื่อสมัยแรกเริ่มนั้นคือความตื่นเต้นและความปลาบปลื้มของประชาชนที่ได้มาสัมผัสและบอกเล่ากันปากต่อปากจนศาลาเฉลิมกรุงมีชื่อเสียง  เลื่องลือไปทั่วพระนครขนาดที่ว่าใครเป็นคนกรุงแล้วไม่รู้ศาลาเฉลิมกรุงจะถือว่าเชยที่สุดทีเดียว
                เพราะโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นหนึ่งที่ได้รับพระราชทางจากในหลวงรัชกาลที่  7 และเป็นโรงภาพยนตร์ที่หรูหราทันสมัยที่สุดในยุคนั้นเป็นโรงภาพยนตร์สำหรับฉายภาพยนตร์เสียงและมีเครื่องปรับอากาศเป็นโรงแรกในประเทศไทย     มีระบบแสงสีที่แปลกตาและมีระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบอีกทั้งโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงยังเลือกฉายแต่ภาพยนตร์ชั้นดี  ทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศมาตลอด


ราคาตั๋วโรงภาพยนตร์ราคา 12.50 บาท
                
                 




                  ในระยะแรกเริ่มดำเนินการนั้น  อัตราค่าเข้าชมภาพยนตร์ของศาลาเฉลิมกรุงกำหนดไว้ที่ราคาต่ำสุด  7  สตางค์คือแถวหน้า  ติดกับจอเวที  ที่นั่งชั้นล่างถัดมาราคา  12 สตางค์  ที่นั่งชั้นล่างแถวหลังราคา  25  สตางค์ และที่นั่งชั้นบนราคา  40 สตางค์  ส่วนที่นั่งในชั้นบอกซ์สำหรับผู้ชมที่ต้องการชมภาพยนตร์แบบไม่ปะปนกับใครได้กำหนดไว้ในราคาที่สูงเป็นพิเศษกว่าที่นั่งชั้นอื่นๆ  และสำหรับนักเรียนมีการให้ส่วนลดพิเศษ  คือถ้ามาซื้อบัตรเข้าชมรวมกัน  10  คน จะได้ส่วนลดจำนวน  1  คนที่ไม่ต้องเสียค่าบัตรเข้าชม สำหรับรอบการฉายภาพยนตร์ของศาลาเฉลิมกรุงในระยะเริ่มแรก  ฉายวันละ  2 รอบ และค่อยพัฒนาเพิ่มเป็น  รอบ  ในวันหยุดมีการเพิ่มรอบเข้าอีกหนึ่งรอบและได้มีการพัฒนาปรับรอบการฉายมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน
                        โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงในยุคแรกเริ่มนั้น  ถือได้ว่าเป็นที่ชุมนุมของคนในกรุงเทพมหานครทีเดียว  โดยเฉพาะพวกคนที่มีการศึกษาดี  ทั้งคนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศและคนที่ผ่านการศึกษาภาษาต่างประเทศจากโรงเรียนในกรุงเทพฯ  เพราะภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่ฉายอยู่ที่ศาลาเฉลิมกรุง  เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศเสียงในฟิล์ม   จะมีภาพยนตร์ไทยอยู่บ้างก็เป็นจำนวนน้อยเต็มที  ด้วยว่าเป็นระยะแรกที่คนไทยเพิ่งจะเริ่มบุกเบิกการทำภาพยนตร์เสียงกัน



การจำหน่ายตั๋วหน้าโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง

                ความชื่นชมของประชาชนที่มีต่อศาลาเฉลิมกรุงไม่ได้มีแต่เพียงในระยะแรกเริ่มเท่านั้น    หากยังดำรงต่อมาอีกเนิ่นนานนับเป็นสิบๆปี     จนก่อเป็นความผูกพันของผู้คนมากมายที่ได้สัมผัสและดำเนินชีวิตเกี่ยวข้องอยู่  บทบาทของศาลาเฉลิมกรุงในวันวานมิใช่เป็นเพียงแค่โรงภาพยนตร์แต่เพียงอย่างเดียวหากยังเป็นภาพสะท้อนของสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง   ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าใจสภาพสังคมและเศรษฐกิจของไทยในช่วง  60  ปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี
                หากกล่าวว่าด้วยทำเลที่ตั้งอันเป็นส่วนส่งเสริมต่อความรุ่งเรืองของศาลาเฉลิมกรุงก็นับเป็นส่วนที่ถูก แต่ในขณะเดียวกันศาลาเฉลิมกรุงเองยิ่งนับว่ามีส่วนส่งเสริมต่อความรุ่งเรืองของพื้นที่บริเวณโดยรอบเป็นอย่างมากเช่นกัน  เพียงเวลาไม่กี่ปีหลังการก่อกำเนิดศาลาเฉลิมกรุง  ถือเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันและส่งเสริมให้พื้นที่โดยรอบพัฒนาตัวเองขึ้น   จากการเป็นย่านธุรกิจการค้าสำคัญสู่ความรุ่งเรืองในระดับที่เป็นศูนย์กลางความเจริญและความทันสมัยของยุคนั้น



ยุคภาพยนตร์

            
                   ส่วนภาพยนตร์ของไทย  แม้ในระยะแรกจะไม่ได้มีการถ่ายทำกันอย่างเป็นทางการ  แต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าทองแถมถวัลย์วงศ์ฯ (พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่  5) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระบิดาแห่งวงการภาพยนตร์ไทย  ก็ได้ทรงริเริ่มถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยฝีพระหัตถ์เป็นพระองค์แรกมาตั้งแต่สมัยปี  พ..2433  แล้วภาพยนตร์ส่วนใหญ่จากฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่านคือการบันทึกพระราชกรณียกิจในพระราชพิธีสำคัญๆของรัชกาลที่  โดยนอกจากถ่ายทำแล้วยังทรงเป็นผู้จัดฉายภาพยนตร์นั้นเก็บค่าดูจากสาธารณชนอีกด้วย  จึงถือได้ว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ของไทยมีการริเริ่มมาตั้งแต่ครั้งนั้น และในปี  พ..2465  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน  (พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 6)




                     ภาพยนตร์เรื่องบันเทิงของไทยหรือภาพยนตร์ที่มีการถ่ายทำตามเรื่องราวที่คิดขึ้นได้เริ่มต้นหลังจากนั้น  โดยในระยะแรกยังเป็นยุคของภาพยนตร์เงียบอยู่ การพากย์ภาพยนตร์นั้นเมื่อแรกเริ่มในสมัยภาพยนตร์เงียบ  ทางบริษัทภาพยนตร์พัฒนากรซึ่งเป็นบริษัทดำเนินกิจการโรงภาพยนตร์รายใหญ่ตอนนั้น  จนการพากย์กลายมาเป็นอาชีพอีกอย่างหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทยด้วย  และพร้อมกับที่กิจการภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศได้เริ่มแพร่หลายสู่คนไทย  และมีบทบาทเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลสูง  สามารถเข้าถึงคนทุกระดับชั้นได้  ทางราชการจึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันมิให้มีการนำภาพยนตร์ที่อาจเป็นพิษภัยต่อสังคมและบ้านเมืองออกฉายเผยแพร่ต่อสาธารณชน
                       ครั้งนั้นรัฐบาลสยามในรัชกาลที่  7 จึงได้ออกกฎหมายเรียกว่า  พระราชบัญญัติภาพยนตร์พุทธศักราช  2473”  ให้อำนาจเจ้าพนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทุกเรื่อง  ก่อนที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้นำออกฉายเผยแพร่ได้  พระราชบัญญัติภาพยนตร์  พุทธศักราช2473”  นี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมความบ้างในเวลาต่อมา  แต่ยังถือบังคับใช้จวบจนถึงทุกวันนี้  ในช่วงยุคนี้เองบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงได้สร้างนักแสดงภาพยนตร์ระดับพระเอกนางเอกจนมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของผู้ชมอย่างกว้างขวางเป็นคู่กัน
            ครั้นพอเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองการสร้างภาพยนตร์เสียงของไทยก็มีอันต้องสะดุดหยุดลง  เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตภาพยนตร์  โดยเฉพาะฟิล์มสำหรับการถ่ายทำซึ่งตั้งแต่สมัยแรกเริ่มสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงของไทยจะใช้ฟิล์มขนาด  35 มม. กันมาตลอด  เมื่อขาดแคลนฟิล์มสำหรับถ่ายทำบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ต่างๆก็เริ่มเลิกรากิจการกันไป  มีเพียงผู้สร้างภาพยนตร์ไทยพากย์บางรายที่หันมาใช้ฟีล์มขนาด  16  มม. ผลิตภาพยนตร์ออกมาป้อนตลาดได้บ้างแต่ในที่สุดก็ต้องหยุดชะงักไปในช่วงที่ประเทศไทย ได้เข้าร่วมในยุทธภูมิของสงครามโลกครั้งที่สอง


ฟิล์มขนาด 16 มม. ที่ใช้ในช่วงต้นๆ

                 ภาพยนตร์ฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งก็เป็นช่วงที่ภาพยนตร์ขนาด  16 มม.  เริ่มเฟื่องฟูเป็นที่นิยมทั่วไปและในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จัดสร้างโรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุงขึ้นเพื่อพระราชทาน  ให้เป็นสถานหย่อนใจสำหรับประชาชน  และเป็นที่ระลึกในคราวฉลองกรุงเทพฯครบรอบ 150  ปีนั้น  ทรงเห็นว่าการดำเนินการโรงภาพยนตร์เป็นกิจการต่อเนื่องซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี

ตัวอย่างภาพยนตร์ไทย

ยุคละคร

              ย้อนหลังไปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้น ภาพยนตร์จากต่างประเทศเริ่มขาดแคลนภาพยนตร์ไทยก็ผลิตกันออมาได้น้อยมากเนื่องจากฟิล์มสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ก็ขาดแคลนเช่นกัน นอกจากการใช้ฟิล์มขนาด 16 มม ซึ่งพอหาได้บ้างมาถ่ายทำภาพยนตร์กันแล้วโรงภาพยนตร์ต่างๆ ก็จำต้องเอาภาพยนตร์เก่ามาฉายซ้ำให้คนดูกัน   ศาลาเฉลิมกรุงโดยบริษัทสหศีนิมาซึ่งเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายภาพยนตร์อยู่ด้วยก็ไม่สามารถหาภาพยนตร์อยู่ด้วยก็ไม่สามารถหาภาพยนตร์อยู่ด้วยก็ไม่สามารถหาภาพยนตร์มาป้อนตลาดได้ทันและเพียงพอแก่ความต้องการ เมื่อระยะเวลาของสงครามเนิ่นนานเข้าก็ต้องใช้วิธีนำเอาภาพยนตร์เก่าๆ ในสต็อกมาฉายวนซ้ำให้นักพากย์ พากย์เล่นลีลาเอาสนุกแก้ขัดกันไปพลาง  จนเมื่อประเทศไทยกลายเป็นยุทธภูมิ หลังจากญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้ามาในปี พ.. 2484 แล้วมีการโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตรกิจการภาพยนตร์ไทยก็ได้หยุดชะงักไปโดยปริยายประกอบกับหนังที่มีในสต็อกก็นำมาวนฉายจนสิ้น





ทางศาลาเฉลิมกรุงจึงได้คิดนำละครเวทีมาจัดแสดง โดยแปรเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่มีลักษณะเป็นละครร้องซึ่งใช้ตัวแสดงผู้หญิงเล่นทั้งหมดเช่นที่เคยมีเล่นกันโด่งดังอย่างคณะแม่เลื่อน มาเป็นละครพูดที่มีการร้องเพลงสลับบ้างและเป็นการแสดงแบบชายจริงหญิงแท้คือใช้ตัวแสดงผู้ชายเล่นเป็นผู้ชายในเรื่องและใช้ตัวแสดงผู้หญิงเล่นเป็นตัวผู้หญิงเช่นกัน  ละครเวทีในลักษณะนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นที่ถูกใจผู้ชมเนื่องจากได้อรรถรสในการชมมากขึ้น อย่างไรก็ตามละครเวทีที่จัดให้มีขึ้นนี้ก็ยังมีการร้องเพลงในเรื่องอยู่ด้วย จึงจำเป็นที่ผู้แสดงตัวเอกทั้งหลายจะต้องมีความสามารถในการร้องเพลงเป็นพื้นฐานเช่นกัน การทำละครเวทีในสมัยนั้นจะมีการจัดทำกันเป็นคณะที่มีชื่อเสียงก็เช่น คณะศิวารมณ์ คณะปรีดาลัยคณะเทพศิลป์ คณะอัศวินการละคร คณะผกาวลี ฯลฯโดยแต่ละคณะจะมีตัวสดงหลักเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ อาทิเช่น พันคำจะเป็นพระเอกประจำของคณะเทพศิลป์ คณะศิวารมณ์ก็มีสมควร กระจ่างศาสตร์ สอาสนจินดา จอก ดอกจัน ส่วนอัศวินการละคร ก็มีลอง สิมะเสถียร สวลีผกาพันธ์ เป็นตัวเอกยืนโรงประจำเช่นนี้เป็นต้น



ละครเวทีในอดึต

                   ส่วนการจัดทำละครแต่ละเรื่องจะมีการพูดคุยติดต่อตกลงกันระหว่างคณะว่าใครจะจัดแสดงละครเรื่องอะไร เพื่อที่จะได้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนกัน แล้วก็มาตกลงกับทางศาลาเฉลิมกรุงในเรื่องกำหนดวันและระยะเวลาการแสดง ซึ่งส่วนมากก็จะอยู่ในระยะประมาณ 2 อาทิตย์ต่อเรื่องผลัดเปลี่ยนกันไป  ละครเวทีที่น่าสนใจในระยะแรกนั้นก็มีเรื่องนางบุญ ใจบาป จากคณะของเซียวก๊กซึ่งมี ม..รุจิรา เป็นพระเอกและมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นนางเอก ละครเวทีที่โด่งมากในสมัยละครเวทีเฟื่องก็คือเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ออกแสดงที่ศลาเฉลิมกรุงได้เพียง 7 วัน ก็เป็นที่กล่าวขวัญของประชาชนทั่วไปและได้ทำการแสดงซ้ำถึง 3 ครั้ง ส่งผลให้เพลงน้ำตาแสงใต้ซึ่งเป็นเพลงในละครเรื่องนี้กลายเป็นเพลงที่คนร้องกันได้ทั่ว และสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ นัดแสดงหน้าใหม่ก็ได้กลายเป็นพระเอกยอดนิยมของนักดูละครเวทีไปในพริบตา


ละครเวทีเรื่องพันท้ายนรสิงห์

                   นักแสดงอื่นๆ ที่ร่วมแสดงในละครเรื่องนี้ก็เล่นกันได้ดีทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นจอกดอกจันในบทพระเจ้าเสือที่เล่นได้ดีจนพระนางเธอลักษมีลาวัลย์ (พระชายาในรัชกาลที่ 6) ทรงออกปากชม หรือมหาดเล็กอ่อน โดยการสวมบทบาทของสมพงษ์ พงษ์มิตร ที่สามารถเรียกขานเสียงหัวเราะจากผู้ชมได้ครั้งแล้วครั้งเล่า และผู้เป็นที่ได้เล่นบทมหาดเล็กอ่อนทุกครั้งที่มีการนำละครเรื่อง พันท้ายนรสิงห์กลับมาเล่นอีก  ผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับจัดแสดงละครเวทีในครั้งนั้นได้แก่ พระนางเธอลักษมีลาวัลย์ พลตรีพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล นาวาอากาศเอกขุนสวัสดิ์ ทิฆัมพร ขุนวิจิตรมาตรา ทวีณ บางช้าง ครูเนรมิต ฯลฯ
            สำหรับดาราละครเวทีที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ก็เช่น พันคำ ส.อาสนจินดา ฉลองสิมะเสถียร สมควร กระจ่างศาสตร์ สวลี ผกาพันธ์ มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา กัณฑรีย์ น.สิมะเสถียร ฯลฯ เป็นต้น และที่ก่อกำเนิดมาพร้อมกับความเฟื่องฟูของละครเวที่ที่ศาลาเลิมกรุงก็คือบรรดานักร้องหน้าม่านที่มาร้องเพลงสลับกับฉากทั้งหลายนั่นเอง  ละครเวทีที่เล่นกันในครั้งนั้น เมื่อเล่นจบหนึ่งองก์จะมีการเปลี่ยนฉากไปตามท้องเรื่องกันทีหนึ่ง ในการเปลี่ยนฉากซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 นาที จึงต้องปิดม่านเพื่อทำการขนย้ายสับเปลี่ยนละตกแต่งฉากใหม่โดยไม่ให้ผู้ชมต้องเสียความรู้สึกกับสภาพความโกลาหลบนเวทีและเพื่อไม่ให้ผู้ชมเกิดความเบื่อหน่ายระหว่างที่รอคอยการเปลี่ยนฉากก่อนละครจะเล่นองก์ต่อไป จึงได้มีการจัดหานักร้องเสียงดีทั้งหลายมาคอยร้องเพลงกล่อมผู้ชมอยู่ที่หน้าม่านเวทีในช่วงเวลาที่ปิดม่านเปลี่ยนฉากอยู่นี้

                      ดังนั้นคำเรียกขานว่า นักร้องหน้าม่าน จึงเกิดจากสภาพการณ์นี้การร้องเพลงหน้าม่านในแต่ละช่วง จะร้องกันประมาณ 2 เพลงตามเวลที่มีอยู่อย่างจำกัด และตลอดทั้งเรื่องของละครเวทีเรื่องนั้นๆ ก็จะใช้นักร้องหน้าม่านสลับกันร้องประมาณ 2 คน นักร้องหน้าม่านเหล่านี้จะเป็นนักร้องเสียงดีที่มีชื่อเสียงมาก่อนหรือไม่ก็จะเป็นผู้เคยผ่านเวทีการประกวดร้องเพลงมาแล้ว ละมาเกิดที่ศาลาเฉลิมกรุงก็หลายคนสาเหตุที่ต้องเจาะจง เลือกนักร้องเสียงดีมาร้องเพลงหน้าม่านเป็นเพราะว่า ในครั้งนั้นการร้องเพลงสลับฉากหน้าม่านจะเป็นการร้องเพลงโดยสดๆ โดยไม่มีวงดนตรีบรรเลงเสริมคอยช่วยเหลือ เมื่อยืนร้องเพลงอยู่ที่หน้ามันนั้น คือพรสวรรค์และความสามารถของนักร้องแต่ละคนอย่างแท้จริง

นักร้องหน้าม่านของศาลาเฉลิมกรุงที่มีชื่อเสียงโด่งดังสมัยนั้นก็มี เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ,สถาพร มุกดาประกร, ชาญ เย็นแข ,คำรณ สมบุญนานนท์ , นคร ถนอมทรัพย์ ฯลฯ
นอกจากความบันเทิงในรูปแบบของละครเวทีและการร้อง เพลงหน้าม่านนี่แล้ว ทางศาลาเฉลิมกรุงการจัดวงดนตรีมาเล่นกันบ้าง วงดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในขณะนั้นก็ได้แก่ วงดุริยะโยธิน วงดนตรีทรัพย์สินฯ วงสุนทราภรณ์ เป็นต้น และได้มีการจัดการแสดงอื่นๆ มาเสริมบ้างเช่น การแสดงละครย่อยของคณะจำอวด ซึ่งปกติจะเล่นประจำอยู่ที่ศาลาเฉลิมบุรี โรงภาพยนตร์ในเครือเดียวกัน
          การแสดงมหรสพในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมักจะมีผู้ชมมาชมกันแน่นขนัด เพราะความที่ขาดแคลนการบันเทองเริงรมย์ต่างๆ แม้บางครั้งจะต้องนั่งชมการแสดงพลางเงี่ยหูฟังสัญญาณเตือนภัยทางอากาศไปพลาง แต่ก็มิได้มีการย่อท้อกันแต่ประการใดทั้งผู้แสดงและผู้ชม
บางคราทั้งฝ่ายผู้แสดงบนเวทีและผู้ชมด้านล่างก็ยังได้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในอันที่จะบอกกล่าวร้องเตือนและชักชวนกันหาสถานที่ปลอดภัยหลบหลีก เมื่อมีการโจมตีทางอากาศเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง   ครั้นพอสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงละครเวที่ซึ่งกำลังเฟื่องฟูก็ยังคงยืนหยัดเป็นสิ่งบันเทิงกล่อมขวัญผู้ชมมาตลอดระยะเวลาแห่งการฟื้นตัวของประเทศไทยจากสงคราม และยืนหยัดรอวันกลับมาฟื้นคืนอีกครั้งของภาพยนตร์ไทย  เมื่อสภาพการณ์ของประเทศเริ่มก้าวสู่ความเจริญจากการปรับตัวหลังสงครามเศรษฐกิจการค้ารวมถึงการติดต่อกับต่างประเทศอยู่ในสภาพดีขึ้น อุตสาหกรรมภาพยนต์ไทยจึงฟื้นตัวสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้ง  นั่นจึงถึงกาลที่ ละครเวทีต้องลาโรงจากศาลาเฉลิมกรุงไปชั่วคราว เพื่อรอวันเวลาที่ผู้รู้คุณค่าจะมาฟื้นคืน
            
                    “ฉันดูละครเวทีที่เฉลิมกรุงสมัยหม่อมเชื้อ หม่อมพร้อมแสดง สนุกมาก ไปดูเกือบจะทุกรอบขนาดช่วงสงคราม ราคาบัตรตอนนั้นตั้ง 1 บาท ฉันยังไปดูเลย หลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนมาเป็นฉายหนัง จำได้ว่าคนแน่นต้องใช้เก้าอี้เสริมทุกรอบและใครที่เข้าไปดูหนังมักซื้อน้ำอัดลมและอ้อยติดไม้ติดมือเข้าไปกินกันเป็นประจำ เวลาฉายหนังจบแล้วก็พากันเดินไปตลาดบำเพ็ญบุญเพราะมีทั้งข้าวมันไก่ ข้าวต้ม ซึ่งอร่อยมาก ราคา 2-3 บาท ถ้าเป็นข้าวราดแกงก็ 1 บาท ฉันไปกินกับแฟนเป็นประจำเวลาที่ดูหนังจบ
                                                                        มณี นาควิสัย
                                                                ชาวบ้านรอบๆเฉลิมกรุง
                        
                        ยิ่งนานวัน  ความผูกพันของผู้คนที่มีต่อศาลาเฉลิมกรุงก็ยิ่งเพิ่มทวี  โดยเฉพาะในยุคเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน    ศาลาเฉลิมกรุงถือว่าเป็นแหล่งศูนย์กลางความบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย  จนเป็นประเพณีนิยมของคนหนุ่มสาวสมัยนั้นที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯจะต้องมาใช้ชีวิตส่วนหนึ่งสัมผัสกับบรรยากาศของย่านนี้  คนในวัย 70 ปีขึ้นไปหลายคนอาจจะรำลึกถึงเมื่อครั้งได้มาสัมผัสกับย่านเฉลิมกรุงในยุคแรกเริ่ม ครั้งที่ยังมีห้างรัตนมาลาห้างสรรพสินค้าที่กำเนิดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  6  ตั้งอยู่ตรงหัวมุมถนนตรีเพชร   มีร้านไนติงเกล   ร้านค้าเครื่องดนตรีซึ่งเปิดกิจการมาตั้งแต่ปี พ..2473
                        ย่านธุรกิจการค้าเดิมกลายเป็นอดีตที่คนรุ่นใหม่เกือบจะไม่รู้จัก หากไม่พลิกผันเปลี่ยนโฉมธุรกิจให้ทันท่วงที  วันคืนแปรเปลี่ยนสรรพสิ่งไปตามกระแสความนิยมของผู้คน   ท่ามกลางกระแสการพัฒนาอันเชี่ยวกราก   ศาลาเฉลิมกรุงได้ยืนหยัดผ่านวันเวลามาด้วยบทบาทอันหนักแน่นมั่นคง   ดุจเดียวกับรูปทรงแข็งแกร่งของตัวอาคารที่ไม่อาจหวั่นไหวกับความคึกคักยามรุ่งเรืองและไม่อาจเจ็บปวดกับภาวะซบเซาร่วงโรย  เป็นเพียงบทบาทของ  ผู้ชม  ที่คอยชมเรื่องราว  ความคิดและความรู้สึกของผู้คนในแต่ละยุคสมัยที่เข้ามาให้ศาลาเฉลิมกรุงได้ชมและสัมผัส  เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นต่อๆไปเท่านั้น




                        
                        ที่สำคัญ  ศาลาเฉลิมกรุงเป็นประหนึ่งประกาศนียบัตรรับรองความสำเร็จของบุคคลในสายอาชีพนี้   นับเป็นเวลายาวนานกว่า  30  ปีที่ศาลาเฉลิมกรุงเป็นเสมือนเสาหลักของวงการภาพยนตร์ไทย  จากยุคแรกสู่ความเฟื่องฟูแล้วกลับซบเซาลง  เมื่อวิวัฒนาการและเทคโนโลยี  ใหม่ๆของโทรทัศน์และเครื่องเล่นวิดีโอได้ก้าวเข้ามาแย่งชิงความนิยมของผู้คนไป
                  ประกอบกับความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้กรุงเทพมหานครเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ย่านธุรกิจการค้าสำคัญเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากแหล่งเดิมความเป็นศูนย์กลางความเจริญและทันสมัย  บ่ายโฉมหน้าไปสู่ย่านสีลม  สยามสแควร์  และเริ่มกระจายออกเป็นจุดๆทั่วกรุงเทพมหานคร

ลักษมี   เพ็ญแสงเดือน
นักแสดง


               โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง   ทำให้หนังที่พี่แสดงเรื่องแรกซึ่งคือเรื่อง   ยอดหญิง  ได้รับความนิยมและพี่ก็เกิดในวงการนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  เรียกได้ว่าเกิดเพราะศาลาเฉลิมกรุงความคิดของคนสมัยนั้นคือ  หากใครได้ขึ้นมายืนบนเวทีเฉลิมกรุงแล้ว   จะรู้สึกถึงความมีเกียรติ   ความภาคภูมิใจ  เพราะศาลาเฉลิมกรุงคือทุกสิ่งทุกอย่าง